ประวัติของลินเนียส
บุรุษผู้สร้างดรรชนี แห่งธรรมชาติ
(Karl von Linne, 1707-1778, The Man Who Indexed The Book of Nature)
รวมรวมโดย จงรักษ์ ศรีสมบูรณ์
ภาพจาก www_linnaeus.uu.se
บ้านเกิด
อันเป็นดินแดนตอนใต้ ของประเทศสวีเด็น มีภูมิประเทศ
เป็นท้องทุ่งอันสวยงาม ประกอบด้วยหุบเขาและทะเลทรายที่
อุดมสมบูรณ์ด้วยดอกไม้ป่า กล่าวได้ว่าไม่มีความงามของ
ธรรมชาติที่ไหนจะขึ้นหน้าขึ้นตายิ่งไปกว่านี้ได้อีกแล้ว
ชีวิตของท่านได้เริ่มขึ้นอย่างไม่มีปี่มี ขลุ่ย เท่าที่ฐานะอันยากจนของบิดาผู้เป็นพระแห่งนิกาย
ลูเธ่อร์ จะสามารถอำนวยให้แก่ลูกคนหนึ่งได้โดยแท้ ลินน์. ผู้พ่อ ไม่มีหวังที่จะได้เห็นบุตร
เจริญรอยตามความนึกคิดของตนไปได้ แต่เขาก็เป็นนักศึกษาทางธรรมชาติที่กระตือรือร้นมาก
ในสวนเต็มไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์อย่างไม่มีสวนของใครในถิ่นเดียวกันจะเหมือน และด้วย
สถานที่แบบนี้เองที่ได้อบรมบ่มชีวิตเด็กผู้สามารถสร้างดรรชนีของธรรมชาติขึ้นใช้ได้ดี ยิ่งกว่า
การศาสนา
ลินน์. ผู้บุตร ไม่มีรสนิยมในวิชาที่เกี่ยวกับเทวะวิทยา ( Theology ) เอาเสียเลย ภาษากรี๊ก
ก็ดี ภาษาฮีบรูและวิชาจริยศาสตร์ก็ดี ไม่ได้เรื่องเอาทีเดียว แต่กับทางคำนวณ – ดี, และยิ่ง
ในวิชาฟิสิคซ์ด้วยแล้วเป็นเยี่ยมกว่าวิชาอื่น ๆ หมด ความไม่สมหวังบางอย่างทำให้ผู้เป็น
บิดาหมดอาลัยตายหยากและเห็นไปว่า อนาคตของผู้เป็นบุตรเมื่อผิดจากเข้าโรงสวดก็คง
จะไม่มีทางอื่นนอกจากจะเปลี่ยนเป็นเข้าร้านตัดเสื้อหรือร้านซ่อมรองเท้ากันเท่านั้น และ
ขณะที่กำลังตัดสินใจว่าจะส่งตัวไป ก็พอดีมีครูคนหนึ่งเห็นความเป็นอัจฉริยะของเด็กจึง
ขวางไว้ และได้ให้ยืมตำราทางพฤกษศาสตร์ไปอ่านกับได้ช่วยเหลือจัดส่งเข้าโรงเรียนที่
เว็กซิโอให้ด้วย แล้วต่อมาก็ได้เข้ามหาวิทยาลัยแห่งลันด์และอั๊พ ชาลา
ชีวิตในเยาว์วัย
เด็กชายลินนีอัสได้รับเงินเป็นค่าใช้จ่ายอยู่เพียงปีละ ๘ ปอนด์ จึงมีความคับแค้นมาก เคย
ถึงกับต้องเอารองเท้าที่ทำมาด้วยเปลือกไม้ และเย็บด้วยตนเอง ออกขาย อย่างไรก็ดี, ไม่
มีอะไรจะทำให้เขาคลายความสังเกตดูความเป็นไปของธรรมชาติด้วยใจรักให้ลดลงได้
ขณะที่กำลังศึกษาอยู่ที่ลันด์ ( ๑๗๒๗ ) นั้น มีศาสตราจารย์ทางศาสนาอีกผู้หนึ่งชื่อ
โอลาฟ เซลซิอัส ( ๑๖๗๐ – ๑๗๕๖ ) เกิดประทับใจต่อความเป็นผู้มีมานะบากบั่น
ประกอบด้วยความเป็นผู้มีชาติวุฒิอันดี จึงได้ให้ที่พำนักอาศัยโดยไม่คิดมูลค่า ท่าน
ผู้นี้เป็นผู้ที่สนใจต่อเรื่องต้นไม้ที่เกี่ยวกับคริสต์ประวัติ เขาจึงกลายเป็นผู้ที่ช่วยท่าน
รวบรวมเรื่อง Hierobotanicon อันกล่าวถึงต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ตามคัมภีร์ใบเบิลด้วย (๑)
ภาพจาก www.linnaeus.nu
ที่อั๊พซาลา ( ๑๗๓๐ ) ตลอดเวลาที่เขาง่วนอยู่กับเรื่องของเกษรตัวผู้บ้าง ตัวเมียบ้าง
และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเพศของต้นไม้บ้าง ( ดูวิธีการของ ระบบลินเนียน ต่อไป
ข้างหน้า ) ลินนีอัสไม่ได้คิดเลยว่างานที่ตนกำลังมุ่งหน้ากระทำอยู่จะมีคุณค่าสักปาน
ใด นอกจากจะทำ ๆ ไปตามความสามารถและหน้าที่ ที่ทางมหาวิทยาลัยได้แต่งตั้ง
มอบหมายเป็นผู้ควบคุมดูแลสวน ช่วยสอนในวิชาพฤกษศาสตร์ และช่วยแนะแนว
ให้แก่ทางสวนบ้าง เท่านั้น
การออกสำรวจ
ในปี ๑๗๓๒ เขาได้ออกเดินทางไปสำรวจ เพื่องานของมหาวิทยาลัยตลอดทั่วทั้ง
แล๊ปแลนด์อยู่ประมาณ ๕ เดือนเศษ เป็นระยะทางกว่า ๔,๕๐๐ ไมล์ กล่าวกัน
ว่าได้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายไปหากจะเทียบกับเงินปอนด์ก็ประมาณ ๒๕ ปอนด์
แต่ได้ตัวอย่างพันธุ์ไม้ใหม่ ๆ มาด้วยราว ๆ ๑๐๐ ชนิด กับตัวรายงานทาง
ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและชาติวงศ์วรรณาแห่งแล๊ปแลนด์ อันเป็นต้นกำเนิด
ของหนังสือ Flora Lapponica ( ๑๗๓๗ ) และอื่น ๆ เป็นบึกใหญ่ ( ดูต่อไป
ข้างหน้า ) ความสำเร็จทั้งนี้ เป็นเหตุที่ทำให้ได้มีการเดินทางแบบเดียวกันขึ้นอีก
ทีนี้เป็นการไปทั่วทั้งแดลิคาร์เลีย ( เดี๋ยวนี้คือ คอพพาแบรฺก์ ) โดยการเชื้อเชิญ
และทุนรอนของผู้ว่าราชการรัฐอันเก่าแก่แห่งหนึ่งของสวีเด็น
ลินนีอัสยังได้รับปริญญา เอ็ม. ดี. ที่ ฮาร์เดอร์วิค แห่งประเทศฮอลันด์ด้วย ( ๑๗๓๕ )
ที่นี่เขาได้ผลิตงานขึ้นอีกมาก เช่น Fundamenta Botanica กับ Bibliotheca
Botanica ( ๑๗๓๖ ) เป็นต้น และด้วยความเอื้อเฟื้อของเฮอรฺมานน์ บูร์ฮาฟฺเว
( ๑๖๖๘ – ๑๗๓๘ ) แพทย์ชาวดัตช์ ช่วยให้เขาได้รับมอบงานสวนที่เป็นแหล่งสะสม
พันธุ์ไม้ชั้นดีของนายธนาคารผู้หนึ่งแห่งเมืองฮาร์เล็มไว้ พร้อมด้วยความหวัง
ที่จะได้ไปเยือนมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอรฺดและกรุงลอนดอน อันจะช่วยให้ได้พบ
และรู้จักกับนักพฤกษศาสตร์ทั้งหลาย และได้ชมแหล่งสะสมที่ดีแห่งอื่น ๆ ไปด้วย
นาย
ก็ไป .
ภาพจาก www.linnaeus.nu
การเริ่มใช้ชื่อเฉพาะกำกับในพฤกษศาสตร์
ณ ที่ฮาร์เล็มนี้ ลินนีอัสได้เริ่มปูพื้นวิชาพฤกษศาสตร์แบบปัจจุบัน และได้จำแนกชั้นของพืชและสัตว์ขึ้นโดยเขียนตำราขึ้นหลายเล่ม อาทิเช่น Critica
Botanica กับ Genera Plantarum ( ๑๗๓๗ ) เป็นต้น ต่อมาได้เดินทางไปยัง
ประเทศ ฮอลันด์ ฝรั่งเศส และอังกฤษ เพื่อเล็คเช่อร์ เมื่อกลับมาสวีเด็นแล้วก็ได้หัน
มาปรับปรุงแหล่งสะสมทางพฤกษศาสตร์ขึ้นอีก และขณะที่ฝึกอาชีพทางแพทย์อยู่ที่
กรุงสต๊อคโฮลฺม ได้เขียนเรื่อง Classes Plantarum ( ๑๗๘๘ ) ขึ้น ต่อมาอีกได้เป็น
อาจารย์สอนทางเวชกรรมและวิชาพฤกษศาสตร์ (๑๗๔๑,๑๗๔๒ ) อยู่ที่มหาวิทยาลัย
แห่งอั๊พซาลา
เป็นระยะนี้เองที่เขาได้ท่องเที่ยวไปทางทะเลบอลติกถึงเกาะโอแลนด์และ
ก๊อทแลนด์ ( ๑๗๔๒ ) และได้จัดพิมพ์ผลงานอันเนื่องมาจากการเดินทางครั้ง
นั้นขึ้นด้วย (Olandska och Gotlandska Resa, ๑๗๔๕ ) หนังสือเล่มนี้
เป็นหนังสือเล่มแรกที่ได้มีการใช้ชื่อเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ กำกับด้วย (specific
names ) ต่อมาอีกก็คือเรื่อง Flora Suecica กับ Fauna Suecica ( ๑๗๔๕ )
และ Hortus Upsaliensis (๑๗๔๘ )
การจำแนกชั้นพืชในระยะแรก
บัดนี้ ชื่อเสียงของเขาได้ขจรขจารไปทั่วทิศ ซึ่งน้อยนักที่จะหาบุคคลผู้ใดสามารถ
ได้รับชื่อเสียงอย่างมากมายในช่วงระยะเวลาอันสั้นเท่านี้ได้ มีนักเดินทางจาก
ดินแดนอันไกลมาสู่เขาพร้อมด้วยต้นหมากรากไม้และสัตว์ชนิดใหม่ ๆ อย่างไม่
รู้จักหยุดหย่อน กลุ่มนักศึกษาจากยุโรปจะคอยเฝ้าฟังเล็คเช่อร์ของเขาอยู่ที่อั๊พซาลา
เป็นประจำ เขาทำงานอย่างไม่รู้จักความเหน็ดเหนื่อย จำแนกชั้นไป ให้ชื่อไปเขียน
บันทึกและพิมพ์ขึ้นเรื่องออกเผยแพร่เรื่อยไป
และสำหรับหนังสือในจำนวน ๑๘๐ กว่าเล่มที่ได้มีการพิมพ์ขึ้นแล้วนั้น เป็นเรื่อง
ที่เกี่ยวกับต้นไม้ของแล๊ปแลนด์และสวีเด็นอยู่หลายเล่ม เช่น Philosophia
Botanica ที่ได้พิมพ์ขึ้นในปี ๑๗๕๐ และ Species Plantarum ในปี ๑๗๕๓
เป็นต้น หนังสือทั้ง ๒ เล่มนี้เป็นหนังสือที่สำคัญมาก ได้บรรจุชื่อพรรณไม้ชนิดต่าง ๆ
ไว้อย่างพร้อมที่จะใช้เป็นหลักในการกำหนดชื่อพฤกษศาสตร์ได้
ในระยะแรกเขาได้คิด “ระบบเทียม” (Artificial system ) สำหรับการจำแนกชั้น
พืชขึ้นใช้ก่อน ระบบนี้เป็นระบบที่อาศัยอวัยวะเพศเป็นหลักมากกว่าจะใช้ระบบทาง
อินทรีย์วัตถุเป็นมาตรฐาน ต่อมาก็ได้ครุ่นคิดคำนึงถึงการที่จะนำเอาระบบธรรมชาติ
มาใช้ (Nature system ) โดยไม่อาศัยแต่ระบบทางเพศเพียงทางเดียว ซึ่งจะต้อง
พิจารณาถึงสัมพรรคภาพ ( Affinity ) คือการรวมเป็นกลุ่มตามความเกี่ยวข้องสัมพันธ์
กันอย่างแท้จริงด้วย.
เมื่อมีพืชชนิดใหม่มาถึงมือ เขาจะให้คำบรรยายไว้เป็นภาษาลาติน เพื่อช่วยให้นัก
พฤกษศาสตร์ของชาติอื่น สามารถเข้าใจได้ด้วย โดยมีวิธีกำหนดชื่อพืชขึ้นดังนี้คือ
จะต้องได้ขนานชื่อประจำถิ่นกำเนิดไว้ก่อนกระทั่งเมื่อไรสืบสาวราวเรื่องถึงความ
เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันได้แล้ว จึงให้ชื่อรองหรือชื่อย่อยผนวกเข้ากับชื่อสกุล อันเป็น
ระบบที่มีค่าอย่างมหาศาลแก่บรรดานักพฤกษศาสตร์ทั้งหลายต่อ ๆ มา เสร็จแล้ว
ตามด้วยตัวอักษร “ L ” ตัวใหญ่ท้ายชื่อวิทยาศาสตร์ แสดงว่าพืชชนิดนั้นได้ถูก
บัญญัติชื่อขึ้นแล้วโดย ลินนีอัส เช่น
**********************************************
หมายเหตุ : ตัวสะกดในที่นี้ ใช้ตามต้นฉบับเดิม
No comments:
Post a Comment