1) การวิเคราะห์ (Identification)
คือการพิสูจน์ชนิดพืช โดยใช้วิธีการเปรียบเทียบการตัดสินใจ การใช้ความจำอันแม่นยำและประสบการณ์อย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายๆอย่างรวมกัน ซึ่งในขั้นตอนแรก จะใช้วิธีการจำ เหมือนกับการจำหน้าเพื่อนหรือบุคคลต่างๆ เราก็จะต้องจำลักษณะของพืชแต่ละชนิด แต่ละสกุล หรือแต่ ละวงศ์ ให้ได้ แต่ อย่างไร ก็ตามเพื่อความมั่นใจเราก็ต้องทำการยืนยัน โดยการนำพรรณไม้ชนิดนั้นไปเปรียบเทียบกับตัวอย่างที่มีชื่อแล้วในหอพรรณไม้ต่อไป สำหรับในประเทศไทย มีหอพรรณไม้อยู่ที่กรมป่าไม้
กรณีที่เราจำลักษณะของพืชชนิดนั้นไม่ได้ ก็จะต้องใช้วิธีต่อไปนั่นก็คือการใช้รูปวิธาน
หรือกุญแจ(Key) ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด และสามารถใช้ได้กับทุกระดับของพืช แต่การใช้กุญแจหรือรูปวิธาน ตัวอย่างของพืชที่นำมาเปรียบเทียบจะต้องมีความสมบูรณ์ คือเป็นกิ่งที่มีองค์ประกอบของ ใบ ดอก และผล ครบถ้วน (ดูรายละเอียดในหัวข้อรูปวิธาน)
สำหรับการเปรียบเทียบตัวอย่างพรรณไม้นั้น สามารถทำได้โดยวิธีต่างๆ คือ การเปรียบเทียบกับตัวอย่างพืชที่มีอยู่แล้ว ในหอพรรณไม้, เปรียบเทียบกับพันธุ์ไม้ในสวนพฤกษศาสตร ์หรือเปรียบเทียบ กับภาพ ที่มีอยู่ในหนังสือพรรณพฤกษชาติต่างๆ
2) การจำแนก (Classification)
คือการจำแนกพรรณพืชขึ้นเป็นหมวดหมู่ต่างๆ การจำแนกอย่างง่ายๆ ก็ได้แก่การจัดพืช เป็นพวกไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้เถา และไม้ล้มลุก หรือจัดเป็นพืชใบเลี้ยงคู่กับใบเลี้ยงเดี่ยว กล่าวคือ จะจัดหมวดหมู่พืชที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เข้าไว้ด้วยกัน ส่วนการจำแนกพืชในขั้นสูง ก็จะจำแนกออกตามลำดับชั้นต่างๆ จากระดับกว้างสุดมาหาแคบสุด ดังนี้
| Division | Class | Order | Family | Genus | Species |
อาณาจักรพืช | ส่วน | ชั้น | ตระกูล | วงศ์ | สกุล | ชนิด |
3) การใช้รูปวิธานหรือ Key
รูปวิธาน เป็นวิธีการหนึ่งในการพิสูจน์พันธุ์ไม้ โดยการคัดลักษณะต่างๆ ที่ไม่ปรากฏในพันธุ์ไม้ที่ต้องการจะพิสูจน์ออก คงเหลือลักษณะที่ปรากฏอยู่ แล้วพิจารณาในขั้นต่อไป ซึ่งจะมีขอบเขตที่แคบลง ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบคำตอบ
รูปวิธานที่ใช้กันมากในปัจจุบันนี้เรียกว่า Dichotomous key คือการนำเอาลักษณะที่แตกต่างกัน หรือตรงกันข้ามมาเข้าคู่กัน แล้วพิจารณาเปรียบเทียบในคู่นั้นๆว่าจะเข้าลักษณะไหน ตัดลักษณะที่ไม่ใช่ออกไป แล้วไปพิจารณา ในส่วนที่แคบลงไปซึ่งจะมีให้เปรียบเทียบเป็นคู่ๆ อีก ทำเช่นนี้ไปเรื่อย จนเหลือแต่ลักษณะที่ปรากฏอยู่ในพรรณไม้ที่เรากำลังตรวจสอบ ก็จะได้ผลลัพธ์ในขั้นสุดท้ายคือชนิดพันธุ์ไม้นั้นๆ
สำหรับส่วนต่างๆของพรรณไม้ที่นำมาใช้เปรียบเทียบ และจับคู่กันก็จะใช้ทุกๆส่วนประกอบตั้งแต่ใบดอก ผล เปลือกลำต้น หรือแม้กระทั่งราก แต่ส่วนของต้นไม้ที่นิยมใช้ในการเปรียบเทียบ และจำแนกชนิดพันธุ์ไม้มากที่สุดในปัจจุบันก็คือ ดอก โดยเฉพาะจำพวกพืชมีเมล็ด เพราะเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า พันธุ์ไม้ที่มีโครงสร้างดอกคล้ายคลึงกัน โดยมากมักมีความคล้ายคลึงกัน ทางด้านพฤกษศาสตร์ด้านอื่นๆ ด้วย ซึ่งเป็นการแสดง ออกว่าพันธุ์ไม้เหล่านี้มีเชื้อสายเดียวกัน
เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ จะขอยกตัวอย่างง่ายๆ ในการใช้รูปวิธานเพื่อพิสูจน์พันธุ์ไม้ดังต่อไปนี้ (ข้อที่พิมพ์ด้วยอักษรสีแดงคือลักษณะที่ตรงกับพันธุ์ไม้ที่เรานำมาใช้ในการพิสูจน์)
ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผลมีลักษณะเป็นปีกมี 5 ปีกด้วยกัน ไม้วงศ์ยาง (Dipterocarpaceae)
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง – ใหญ่ ผลเป็นฝักแก่แล้วแตกออก 2 ด้าน ไม้วงศ์ถั่ว (Leguminosae)
หลังจากนั้นเราก็มาเปรียบเทียบลักษณะในส่วนที่แคบลงไปอีกเรื่อยๆ จนถึงการเปรียบเทียบ
ในขั้นสุดท้ายคือ ขั้นที่จะต้องระบุชนิดสมมุติว่าเหลือ 2 ลักษณะ ดังนี้
ดอกมีลักษณะเป็นกระจุกกลมๆสีเหลือง ฝักแบนเรียบ กระถินยักษ์
ดอกมีลักษณะเป็นกระโดงคล้ายเรือมีสีขาว ฝักเรียวยาว แคบ้าน
ผลสรุปของเราที่ได้ พันธุ์ไม้ที่นำมาพิสูจน์คือต้นแคบ้าน
อย่างไรก็ดีการวิเคราะห์พันธุ์ไม้ในระดับนี้ ผู้ที่จะทำการวิเคราะห์ จะต้องมีประสบการณ ์์และพื้นฐานความรู้ในด้านอนุกรมวิธาน (Plant taxonomy) และวิชาการด้านอื่นๆ เป็นต้นว่ารุกขวิทยา (Dendrology) และพฤกษศาสตร ์(Botany มาพอสมควร
ในส่วนของผู้สนใจและประชาชนทั่วไป ควรเริ่มต้นจากการจดจำลักษณะของพันธุ์ไม้แต่ละชนิดให้ได้เสียก่อน โดยเฉพาะกับชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญๆ และมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ หรือแม้แต่พันธุ์ไม้ที่พบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น ไม้ผลชนิดต่างๆ
รวบรวมและเรียบเรียงจากคู่มือสอนวิชารุกขวิทยาเบื้องต้นของคณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และข้อมูลเผยแพร่ทางวิชาการ เรื่องอนุกรมวิธานพืช บนเวบไซต์ของกรมป่าไม้
ได้รับการอนุเคราะห์จาก คุณ
Web Counter Stats
Internet Marketing Counter
No comments:
Post a Comment