กระบองเพชร คืออะไร

จะจำแนกสายพันธุ์ อย่างไร ชื่อที่เห็นเรียกกันอยู่ มาจากไหน สร้อยที่ห้อยท้ายชื่อ คืออะไร คงเป็นคำถามที่หลายท่านต้องการคำตอบ... เนื้อหาในขอบเขตนี้ ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้รู้มากมาย เราเพียงเป็นผู้รวบรวม เพื่อเป็นแหล่งความรู้หนึ่ง

ด้วยความขอบพระคุณ จาก www.mycacti.com

Tuesday, March 6, 2007

ชื่อไทย-ชื่อท้องถิ่น

การตั้งชื่อไทย หรือชื่อท้องถิ่น
ความเห็นของ คุณชนินทร์ โถรัตน์ (คุณป้อง)

ที่จริงการตั้งชื่อไทย หรือชื่อท้องถิ่น (vernacular name)
หรือชื่อสามัญ (
common name)

เพื่อเรียกไม้ประดับ แทนการเรียกชื่อวิทยาศาสตร์ (scientific name)
ที่ยาวและจดจำได้ยากนั้นก็เป็นสิ่งดีครับ เพื่อที่เราจะได้หมายรู้ว่าต้นที่เราพูดถึงคือต้นใด

แต่เนื่องจากว่าการตั้งชื่อเรียกนี้ จะถูกนำมาใช้อย่างได้ผลก็ต่อเมื่อได้รับการยอมรับ
หรือเป็นที่นิยมในวงกว้าง ซึ่งในกรณีนี้ก็อาจต้องอาศัยสื่อ เช่นหนังสือ
หรือตำราที่กล่าวถึงพรรณไม้ที่อยู่ในกลุ่ม หรือชนิดนั้นๆ โดยมีการตั้งชื่อเรียกเอาไว้ให้ อย่างเป็นทางการโดยผู้รอบรู้ที่แต่งหนังสือนั้นเอง หรือจากการไปรวบรวมข้อมูล มาจากวงการ

หรือจากตลาดต้นไม้ ก็ตาม เพื่อที่คนทั่วไปจะได้รับทราบว่าต้นไม้ต้นนั้นๆ เขานิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่าอย่างไร

เมื่อก่อนเคยมีหนังสือสารานุกรมไม้ประดับ ที่มีเรื่องเกี่ยวกับ cactus และ succulent
ดยมีการตั้งชื่อภาษาไทยให้กับต้นไม้กลุ่มนี้ไว้ด้วยหลายชนิด ยกตัวอย่างเช่น

Echinocactus grusonii

Echinocactus grusonii หรือที่ฝรั่งเรียกชื่อสามัญว่า "Golden Barrel" หรือ "Mother in law's seat" เราก็มาเรียกชื่อว่า "ถังทอง" (ไม่ยักเรียกเก้าอี้คุณแม่ยาย น่ะ?) ซึ่งก็นิยมเรียกกันติดปากมาถึงทุกวันนี้

แต่บางอย่างก็ไม่ค่อยได้รับความนิยม เรียกขานกันเลย อย่างเช่น

Mammillaria hahniana

Mammillaria hahniana ที่เรียก "แมมแม่เฒ่า" ซึ่งแปลมาจากชื่อสามัญของฝรั่งว่า "Old Lady"

Leuchtenbergia prinicipis

ภาพจาก www.cactuspro.com

หรืออย่าง Leuchtenbergia prinicipis ที่เคยมีคนตั้งชื่อไว้เสียไพเราะว่า "นิ้วนางรำ" ก็ไม่มีใครนิยมเรียกกัน ในหมู่คนเล่นกระบองเพชรเขาก็ยังนิยม หรือคุ้นที่จะเรียกชื่อทับศัพท์ว่า "ลูเทนเบอร์เกีย"


และแม้แต่ Mammillaria nivosa เองก็ยังมีชื่อไทยที่เรียกแตกต่างกัน เพราะบางค นก็เรียก "แมมหนามทอง" ซึ่งก็อาจเกิดปัญหาขึ้นมาอีก เพราะไม้สกุลแมมที่มีหนามสีเหลืองทองนั้นก็มีอยู่ตั้งมากมาย นับไม่ถ้วนเลยบางทีก็ไม่รู้ว่าหมายถึงต้นไหนกันแน่ ยกเว้นบางต้นที่โดดเด่นจริงๆ อย่าง Mammillaria plumosa





Mammillaria nivosa

Mammillaria plumosa "แมมขนนก"



ที่นิยมเรียกกันว่า "แมมขนนก" ซึ่งส่วนใหญ่ก็เข้าใจว่าหมายถึงแมมตัวไหน แต่พอมาหลังๆ มีแมมที่มีหนามเป็นขนสีทองๆ เข้ามา ก็เรียก
"แมมขนนกเหลือง" ซึ่งก็พอจะนิยมกันอยู่ในหมู่คนเล่น







Mammillaria schiedeana
แมมขนนกเหลือง

ที่จริงก็ไม่ได้อยากให้ต้องไปจดจำชื่อวิทยาศาสตร์กัน ให้ยุ่งยาก เท่าใดนัก เพราะอย่างที่กล่าวไว้แต่ต้นว่า มันยาว และก็จดจำยาก แต่บางทีมันก็อาจเป็นทางออกที่ดีที่สุด ในการเรียกขานต้นไม้ที่มีความหล ากหลาย มากมายขนาดหลายร้อย หลายพันชนิด แถมคล้ายๆ กันเช่นนี้ เพราะข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ ชื่อวิทยาศาสตร์เป็นชื่อสากล ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งโลกครับ ก็เอาเป็นว่าอาจพบกันครึ่งทาง ต้นไหนที่มีชื่อเรียกภาษาไทย แบบที่คุ้นเคยกันอยู่แต่ดั้งเดิมก็เรียกขานกันไป ส่วนที่ยังไม่มี หากพอจะตั้งให้เข้าใจกันได้ง่ายๆ ก็สมควรตั้งขึ้นมาเป็นบรรทัดฐาน

Pachy. eburneum
ภาพของคุณ tootoilet จากห้องสนทนา www.mycacti.com

แต่ถ้าสุดความสามารถจริงๆ อย่างบรรดาไม้โขด หรือไม้อวบน้ำ ชนิดใหม่ล่าสุด ที่มีการสั่งกันเข้ามาเผยแพร่ในช่วงนี้ ก็อาจจำต้องเรียกชื่อวิทยาศาสตร์ แบบทับศัพท์ให้พอเข้าใจกันไปก่อน ยกตัวอย่างเช่น เกิดใครสนใจพวก Pachypodium ต้นใหม่จากมาดากัสการ์ที่ชื่อ Pachy. eburneum ก็อาจต้องเรียก "พาชี่ อีเบอร์เนี่ยม" หรืออย่างน้อยก็ "พาชี่ ดอกขาว" (ซึ่งตัวดอกขาว ก็ดันมีอีกสองสามตัวเหมือนกันอีก! )

ที่จริงการมีป้ายชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง พร้อมข้อมูลถิ่นกำเนิด ที่มา หรืออื่นๆ เช่น "แฟนให้มา" หรือ "เพาะจากเมล็ดเมื่อ...." ปักอยู่ในกระถางก็นับเป็นสีสัน และเพิ่มอรรถรสให้กับการการเล่น หรือสะสมต้นไม้อยู่เหมือนกันน่ะครับ หรือคุณคิดว่าอย่างไร

โดย Fat Man [22 มิ.ย. 2549 , 14:30:51 น.]

จากกระทู้ในห้องสนทนา www.mycacti.com

1 comment:

BurnSugar said...

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ ค่ะ
ขออ้างอิงข้อมูลทีนี่ได้ใช่มั้ยคะ